บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง






2.1  การประดิษฐ์

       ความหมายของการประดิษฐ์คือคามคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นหรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม



2.2  พลาสติก

       จัดเป็นวัสดุพอลิเมอร์ที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีลักษณะเป็นโซ่ยาวๆ แต่ไม่สามารถมองเห็นเป็นสายโซ่ได้ด้วยตาเปล่าซึ่งสายโซ่ดังกล่าวประกอบด้วยหน่วยย่อยๆที่เรียกว่ามอนอเมอร์ พอลิเมอร์สามารถสังเคาระห์ได้จากขบวนการพอลิเมอร์ไรเซชั่นของมอนอเมอร์โดยใช้แหละวัตถุดิบจากปิโตรเคมี พลาสติกมีหลายชนิดและสามารถใช้แทนวัสดุธรรมชาติได้หลายอย่าง เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ใช้ผลิตท่อพีวีซี , พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลทที่ใช้ผลิตขวดผลิตน้ำดื่ม และพอลิสไตรีนใช้ผลิตภาชนะบรรจุต่างๆ เช่น ช้อน พลาสติก เป็นต้น



2.3  พลาสติกรีไซเคิลทั้ง 7 ประเภท

       พลาสติกหมายเลข 1 มีชื่อว่า พอลิเอทธิลีนเรฟธาเลทหรือที่รู้จักกันดีว่า เพ็ท เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และแก๊สซึมผ่านดี ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น สามารถนำมารี"ซเคิลเป็นเส้นใยสำหรับทำเสื้อกันหนา พรม และใยสังเคาระห์สำหรับยัดหมอนเป็นต้น

       พลาสติกหมายเลข 2 มีชื่อว่า พอลิเอธิลีน คามหนาแน่นสูง หรือที่เรียกแบบย่อว่า HDPE เป็นพลาสติกที่เหนียวและแตกยาก ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่างๆได้ง่าย ใช้ทำขวดนม ขวดน้ำและบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม เป็นต้น สามมารถนำมารีไซเคิลเป็นขวดน้ำมันเครื่องท่อ ลังพลาสติก ไม้เทียม เป็นต้น

       พลาสติกหมายเลข 3 มีชื่อว่า พอลิไวนิลคลอไรด์ โดยที่รู้จักกันดีว่า  PVC ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียมเป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อน้ำประปะหรือรางน้ำสำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม เป็นตัน

ภาพในบรรทัด 1

       พลาสติกหมายเลข 4 มีชื่อว่า พอลิเอธิลีน ความหนาแน่นต่ำ สามารถเรียกแบบย่อว่า LDPE เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม เป็นต้น

       พลาสติกหมายเลข 5 มีชื่อว่า โพพิลีน เรียกโดยย่อว่า PP เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูปเหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน  ถัง ตะกร้ากระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชน และกรวยสำหรับน้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง เป็นต้น

       พลาสติกหมายเลข 6 มีชื่อว่า พอลิสไตรีน หรอที่เรียกโดยย่อว่า PS เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่าย ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ต่างๆ หรือโฟมใส่อาหารเป็นต้น สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะเทอร์มิเตอร์ แผงสวิตซ์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใสไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆได้

       พลาสติกหมายเลข 7 นั้นมิได้มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่เป็นพลาสติกที่นำมาหลอมใหม่ได้

ภาพในบรรทัด 1

2.4  วัตถุดิบจากธรรมชาติสำหรับการผลิตพลาสติก

วัตถุดิบที่สำคัญสำหรับการผลิตพลาสติกคือ การผลิตที่ได้จากปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินแร่ธาตุต่างๆเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้อาจผลิตจากน้ำมันพืช และส่วนต่างๆของพืชได้เช่นกัน

- ปิโตรเลียม
       ปิโตรเลียมเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกแทบทุกชนิด ประเทศไทยมีแหล่งผลิตปิโตรเลียมหลายแห่ง แต่ไม่มีการนำมาทำประโยชน์ในด้านผลิตภัณฑ์พลาสติกมีเพียงนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ สารในกลุ่มโอเลฟิน เช่น มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน และเพนเทน และสารในกลุ่มอะโลแมนติก เช่น เบนซิน อนุพนธ์ของเบนซิน สารทั้งสองกลุ่มสามารถนำมาผลิตมอนอเมอร์ได้มากมายหลายชนิด

- ก๊าซธรรมชาติ
       ก๊าซธรรมชาติที่พบในประเทศไทยมีส่วนประกอบเป็นสารไฮโดรคาบอนที่สำคัญคือ มีเทน อีเทน โพรเพน และ
บิวเทนเป็นส่วนใหญ่ สารไฮโดรคาบอนเหล่านี้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทิลีนโมโนเมอร์และโพรไพลีนโมโนเมอร์ซึ่งเป็นสารเริ่มต้นการผลิตพลาสติกหลายชนิด

- ถ่านหินและลิกไนต์
       ประเทศไทยมีแหล่งลิกไนต์ที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ ที่แม่เมาะ จังหวัดลำปาง และที่จังหวัดกระบี่ ประโยชน์ของลิกไนต์นอกจากใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังใช้ผลิตเบนซินและอนุพันธ์ของเบนซิน เช่น สไตรีนมอนอเมอร์ได้ด้วย

- พืชและน้ำมันพืช
       วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตบางชนิด ได้แก่ ส่วนต่างๆของพืชและน้ำมันพืช เช่น เซลลูโลส เชลแล็ก และกรดไขมันต่างๆ

- แร่ธาตุต่างๆ
       สินแร่บางชนิด เช่น ถ่านโค้ก และหินปูเป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตแคลเซียมคาร์ไบด์ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมการผลิดอะเซลทิลีน นอกจากนี้คลอรีนที่ผลิตได้จากน้ำทะเล ตลอดจนแร่ใยหินได้นำมาใช้สำหรับพลาสติกเสริมแรง



2.5  ลักษณะหรือคุณสมบัติของกระถาง


   2.5.1 มีลักษณะเป็นทรงกระบอก ไม่มีรูตรงก้นกระถาง มีรูปหน้าเป็นตัวการ์ตูนและมีสีสันกันหลากหลาย
   2.5.2 มีคุณสมบัติในการปลูกใบพลูด่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น